วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

ขอขอบคุณข้อมูลจาก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

๑๐. อุทัยเทวี

๑๐.  อุทัยเทวี



เรื่องย่ออุทัยเทวี

ณ เมืองบาดาล ธิดาพญานาคหนีมาเที่ยวเมืองมนุษย์และพบรักกับรุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้ริมสระน้ำ ธิดาพญานาคตั้งครรภ์รอจนคลอดเป็นไข่ฟองหนึ่ง จึงใช้สไบห่อไข่และพ่นพิษคุ้มครองไว้ก่อนแล้วลงกลับไปเมืองบาดาล บังเอิญมีนางคางคกผ่านมาเห็นจึง กินไข่และตายด้วยพิษพญานาค พอดีกับไข่ฟักเป็นเด็กหญิงซึ่งคิดว่านางคางคกเป็นแม่ของตน จึงอาศัยอยู่ในซากคางคกเน่าๆ

ตายายสองผัวเมียมาตกปลาพายเรือผ่านมาเห็นเข้าก็ช่วยเลี้ยงดูจนโต ตั้งชื่อให้ว่าอุทัยเทวี และอุทัยเทวีได้แต่งงานกับเจ้าชายสุทธราช ซึ่งก่อนแต่งตากับยาก็ได้มีข้อกำหนดว่า ต้องสร้างสะพานทองตั้งแต่วัง จนถึงบ้านตายยายแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี อุทัยเทวีจึงเป็นสะใภ้แห่งเมืองหลวง มารดาของเจ้าชายไม่ค่อยชอบอุทัยเทวีนัก จึงหาทางให้ลูกของตนเป็นของคนอื่นไป ซึ่งนั่นคือ เจ้าชายต้องไปแต่งงานกับเจ้าหญิงฉันทนา ซึ่งอุทัยเทวีก็ตามไปด้วยตามสัญญา เจ้าหญิงฉันทนาคิดกำจัดอุทัยเทวีโดยฆ่านางอุทัยเทวี แต่พ่อของอุทัยเทวี ช่วยไว้ จึงบอกว่าให้รอแก้แค้นนางฉันทนาอยู่นอกวัง

ต่อมาไม่นานนางฉันทนากลุ้มใจเรื่องผีนางอุทัยเทวีจะมาหลอก หัวจึงหงอก ผมที่เคนดำกลับขาวไปทุกเส้น จึงเอาผ้าพันศีรษะไว้ตลอดเวลา ต่อมานางอุทัยเทวีแปลงกายเป็นแม่ค้าขายขนมแก่ๆผ่านมา ซึ่งผมดำยาวสลวยผิดกับนางฉันทนา นางฉันทนาเห็นเข้าจึง คิดว่ายายแก่คนนี้ก็มีเคร็ดลับในการบำรุงรักษาผมอย่างแน่นอน จึงให้ยายแก่เข้าไปในวัง และให้รักษาผมของตนเองให้ แต่นางอุทัยเทวีก็จะรักษาให้ แต่ต้องยอมให้ทำทุกอย่างห้ามถามอะไรทั้งสิ้น นางฉันทนาตกลง จึงนอนลงแล้วนางอุทัยเทวี ก็เอามีดโกนโกนผมนางฉันทนา ออกจนหมด แล้วกรีดศีรษะนางฉันทนาแล้วเอาปลาร้าให้หม้อครอบหัวนางฉันทนาไว้ และห้ามเอาหม้อออกก่อนวันที่ 7 แต่ไม่ถึงคืนนางฉันทนาทนพิษบาดแผลไม่ไหว จึงสิ้นใจตาย

เจ้าชายสิทธิราช รู้ดังนั้นจึงกลับไปเมืองของตน ซึ่งก็ยังเห็นอุทัยเทวีอยู่ที่เมืองอยู่ก็ทรงโล่งใจ อุทัยเทวี ได้ครองรักกับเจ้าชายอย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน

๙. ลิลิตพระลอ

๙.  ลิลิตพระลอ



เรื่องย่อลิลิตพระลอ

ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ
เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองแม้นสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอดิลกราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร
กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนามาว่า พระเพื่อนแก้ว พระองค์น้องพระนามว่า พระแพงทอง พระราชธิดาทั้งสองสาบานกับเจ้าย่าว่าจะแก้แค้นให้เมืองสรองและถ้าผิดคำสาบาน จะต้องตายด้วยคมของอาวุธ เพราะปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้ศึกเสียทีสวรรคต เจ้าย่าจึงส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง และใช้กฤติยามนต์ (หลอกให้กินสล่าบินหรือหมาก) เพื่อให้พระลอมาที่นี่แล้วให้ ทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองแม้นสรวงและลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองรู้เรื่องนี้เข้าจึงให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์ให้ รื่นและโรยจึงไปหาประคำมาไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ไม่ได้ผลรื่นและโรยจึงตัดสินใจไปหาปู่เจ้าสมิงพรายก่อนวันฉลองวันครอง ราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่สายไปปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าแล้วจึงหมดทางแก้ไขกฤตยามนต์โดย สิ้นเชิง หลังจากวันนั้นทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้พระลอมาถึงโดยเร็วกว่า เดิมเพื่อทูลเตือนให้กลับไปเสีย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรองในวันพรุ่งนี้
พระลอต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและมนต์ของเจ้าสมิงพราย เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง
เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลองก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่ามีพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระ แพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด
เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด ก่อนจะสิ้นพระชนม์แพงทองได้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งจนเสร็จแล้วม้วนใส่ซองหนัง ไว้ในที่ลับตาคนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไป เนื้อหามีอยู่ว่า "หลังจากที่ข้าฯ ตายไป จะเป็นสิบปี.....ร้อยปีหรือพันปี.... ก็ตาม คนที่อยู่เบื้องหลังอาจรำลึกถึงเรื่องราวระหว่างข้าฯ สองพี่น้องกับท้าวเธอดุจนิยายฝันอ้นเลือนลาง จากปากหนึ่ง...ไปสู่อีปากหนึ่ง...ท้ายสุดเรื่องราวของข้าฯ ก็จะมีค่าเป็นเพียงนิยายที่ไร้ความหมายเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังอย่างสนุก สนาน... แต่..คงจะมีสักวันหนึ่งคงจะมีคนมาพบบันทึกเล่มนี้เขาจะได้รู้ความจริงระหว่าง เพื่อนแก้ว ข้าฯ และท้าวเธอ ผู้ทรงนามว่าลอดิลกราช ก่อนจะมีผู้พบบันทึกชื่อเสียงของข้าฯ อาจหมองมัว ข้าฯ อาจจะถูกประณามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างในฐานะหญิงโฉดเจ้ามารยาที่เอาชนะใจชาย ด้วยมนตรา! ข้าจะไม่แก้ตัวด้วยประการใดทั้งสิ้น แต่ขอวอนท่าให้อ่านบันทึกนี้จนจบ คราวนี้ท่านอาจจะให้อภัยข้าฯ ได้สักน้อยนิดก็ยังดี....บางครา....ท่านอาจเห็นใจข้าฯได้บ้างว่า ความรักของข้าฯ สองพี่น้องต่างหากที่เป็นความรักที่ต้องมนตรามิใช่ท้าวเธอแต่เพียงผู้เดียว" หลังจากข้อความนี้ก็ได้เล่าความเป็นมาทั้งหมด
กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก
จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์ (คือพระลอ พระเพื่อนแก้ว และพระแพงทอง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองแม้นสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน
ผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ

๘. สังข์ทอง


๘.  สังข์ทอง



เรื่องย่อสังข์ทอง

 ณ เมืองยศวิมลนคร อันมีท้าวยศวิมลเป็นเจ้าเมือง พระมเหสีจันเทวีได้คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์ จึงถูกพระนางจันทา มเหสีรอง ใส่ร้ายว่าเป็นกาลีบ้านเมือง จนถูกขับออกจากเมืองไปอยู่กระท่อมตายายที่ชายป่า จนกระทั่งพระสังข์ที่ซ่อนอยู่ในหอย ได้ออกมาพบแม่ สร้างความยินดีกับพระนางจันเทวีมาก
          ข่าวล่วงรู้ไปถึงนางจันทา จึงได้ส่งคนมาจับพระสังข์ไปถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์พญานาคราชช่วยเอาไว้ และส่งให้ไปอยู่กับ นางพันธุรัต พระสังข์รู้ว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์จึงขโมยรูปเงาะ ไม้เท้า เกือกแก้ว เหาะหนีมาอยู่บนเขา นางพันธุรัตตามมาทันแต่ ไม่สามารถขึ้นไปหาพระสังข์ได้ จึงได้มอบมนต์มหาจินดา เรียกเนื้อเรียกปลาให้แก่พระสังข์ก่อนที่จะอกแตกสิ้นใจตายที่เชิงเขา นั่นเอง
          พระสังข์เหาะมาจนถึงเมืองสามล ท้าวสามลและนางมณฑากำลังจัดพิธีเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด แต่รจนาพระธิดาองค์สุดท้อง ไม่ยอมเลือกใครเป็นคู่ ท้าวสามลจึงให้คนไปตามเจ้าเงาะมาให้เลือก รจนาเห็นรูปทองที่ซ่อนอยู่ในรูปเงาะจึงเสี่ยงมาลัยไปให้ สร้างความพิโรธให้ท้าวสามาลจึงถึงกับขับไล่รจนาให้ไปอยู่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ
          ท้าวสามลหาทางแกล้งเจ้าเงาะ โดยการให้ไปหาเนื้อหาปลาแข่งกับเขยทั้งหก เจ้าเงาะให้มนต์ที่นางพันธุรัตให้ไว้เรียกเนื้อ เรียกปลามารวมกันทำให้หกเขยหาปลาไม่ได้ จึงต้องยอมตัดปลายหูและปลายจมูกแลกกับเนื้อและปลา
          ท้าวสามลพิโรธมากจนถึงกับคิดหาทางประหารเจ้าเงาะ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องหาทางช่วยโดยการลงมาท้าตีคลีชิงเมือง กับท้าวสามล ท้าวสามลส่งหกเขยไปสู้ก็สู้ไม่ได้ จึงต้องยอมให้เจ้าเงาะไปสู้แทน เจ้าเงาะถอดรูปเป็นพระสังข์และสู้กับพระอินทร์ จนชนะ ท้าวสามลจึงยอมรับพระสังข์กลับเข้าเมืองและจัดพิธีอภิเษกให้
         พระอินทร์ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล เพื่อบอกเรื่องราวทั้งหมด ท้าวยศวิมลจึงออกตามหาพระนางจันเทวีจนพบ และได้เดินทาน ไปเมืองสามลนครเพื่อพบพระสังข์ โดยพระนางจันเทวีได้ปลอมเป็นแม่ครัวในวังและได้แกะสลักเรื่องราวทั้งหมดบนชิ้นฟัก ให้พระสังข์เสวย ทำให้พระสังข์รู้ว่าแม่ครัวคือพระมารดานั่นเอง พระสังข์และรจนาจึงได้เสด็จตามท้าวยศวิมลและพระนาง จันเทวีกลับไปครองเมืองยศวิมลสืบไป

๗. ลิลิตตะเลงพ่าย


๗.  ลิลิตตะเลงพ่าย



เรื่องย่อลิลิตตะเลงพ่าย

              เริ่มประพันธ์ด้วยการกล่าวชมบารมีและพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แล้วจึงเข้าสู่เนื้อความที่ถอดความได้ดังนี้ สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงสวรรคตจึงมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ซึ่งผู้ที่ได้สืบครองราชย์ต่อคือสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งอาจมีการรบเพื่อแย่งราชบัลลังก์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรศถ พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงได้ส่งกองทัพมาเพื่อเป็นการเตือนว่าหากบ้านเมืองกรุงศรีอยุธยาไม่สงบ พม่าพร้อมที่จะโจมตีทันที ซึ่งพระดำรินี้ได้รับความเห็นชอบจากเหล่าขุนนางทั้งหลายก็มีความเห็นตามนี้ พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้พระมหาอุปราชาผู้ซึ่งเป็นโอรสและพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่ไปเตรียมกองทัพร่วมกัน แต่โหรได้ทำนายว่าพระมหาอุปราชานั้นจะมีดวงถึงฆาต แต่ด้วยความเกรงในพระบิดาพระองค์จึงไม่ทรงขัดพระทัย ในระหว่างช่วงนั้นสมเด็จพระนเรศวรได้เตรียมกองทัพในการไปท่ำศึกกับกัมพูชาที่ได้นำทัพมารบในขณะที่ไทยกำลังรบอยู่กับพม่า แต่เมื่อทรงทราบว่าพม่าได้ยกทัพมาพระองค์จึงนำกำลังส่วนนี้ไปตั้งทัพรอรับศึกพม่าแทน โดยทรงบัญชาให้ทัพหน้าไปประจำที่ตำบลหนองสาหร่าย ส่วนทัพพม่านั้นได้นำทัพจำนวน 5 แสนชีวิตผ่านด่านเจดีย์สามองค์ ไทรโยคลำกระเพินแล้วจึงเข้ามายึดเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้นำทัพผ่านเข้ามาทางพนมทวน ณ ที่แห่งนี้ได้เกิดลมเวรัมภาที่พัดจนฉัตรพระมหาอุปราชาหักลง ทรงพักค่ายที่ตำบลตระพังตรุ ทางฝั่งสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถเคลื่อนทัพทางน้ำ โดยขึ้นบกที่อำเภอป่าโมกข์ ซึ่งที่นี่ได้เกิดศุภนิมิตขึ้น จากนั้นได้นำพลไปพักค่ายที่อำเภอหนองสาหร่าย ซึ่งได้ทรงทราบว่าทหารพม่ามาลาดตระเวณอยู่ในบริเวณนี้จึงมีพระบัญชาให้กองทัพหน้าเข้าโจมตีทันที แล้วทำทีเป็นถอยร่นเข้ามาเพื่อให้ข้าศึกเกิดความประมาท ซึ่งทัพหลวงจะออกมาช่วยหลังจากนั้น แต่บังเอิญว่าช้างทรงทั้งของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถนั้นตกมัน จึงหลงเข้าไปอยู่ตรงใจกลางของทัพข้าศึกทำให้แม่ทัพต่างๆเสด็จตามไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรจึงได้กล่าวท้าให้พระมหาอุปราชออกมาทำยุทธหัตถีกัน ท้ายที่สุดสมเด็จพระนเศวรทรงมีชัยเหนือพระมหาอุปราชา เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระเอกาทศรถมีชัยเหนือมังจาชโร หลังจากที่กองทัพพม่าแตกพ่ายไป สมเด็จพระนเรศวรได้มีพระบัญชาให้สร้างสถูปเจดีย์ขึ้นที่นี่ แล้วยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ในเรื่องนี้กวีได้จบเรื่องด้วยการประพันธ์โคลงสดุดีและได้ประพันธ์ถึงทศพิธราชธรรม จักรพรรดิวัตรและปิดเรื่องด้วยชื่อผู้ประพันธ์และจุดประสงค์ในการประพันธ์

๖. ปลาบู่ทอง

๖.  ปลาบู่ทอง




เรื่องย่อปลาบู่ทอง

เศรษฐีชื่อทารกะมีอาชีพจับปลา มีภรรยา 2 คน เมียหลวงชื่อนางขนิษฐา มีลูกสาวชื่อเอื้อย เมียน้อยชื่อนางขนิษฐี มีลูกสาว 2 คน คนโตชื่ออ้าย คนเล็กชื่ออี่ นางขนิษฐีเมียน้อยมีจิตริษยาเมียหลวง จึงใช้เล่ห์กลมารยาพูดยุแหย่สามีอยู่ตลอดเวลา เช้าวันหนึ่ง     ทารกะออกหาปลาพร้อมกับนางขนิษฐา จนกระทั่งสายทอดแหได้ปลาบู่ทองขึ้นมาเพียงตัวเดียว พอนางขนิษฐาขอปลาบู่ทองเพื่อจะให้ลูกสาวเลี้ยงเอาไว้ ทารกะโมโหจึงคว้าพายขึ้นมา ตีนางขนิษฐาด้วยความโกรธ จนนางขนิษฐาสลบ และผลักนางขนิษฐาตกน้ำไป  เอื้อยเมื่อขาดแม่แล้ว ก็ถูกนางขนิษฐีพร้อมทั้งลูกสาวทั้งสองรุมกลั่นแกล้งต่างๆนาๆ  และใช้เอื้อยทำงานหนักตลอดเวลา เย็นวันหนึ่งหลังจากที่เอื้อยทำงานบ้านเสร็จแล้วได้มานั่งเล่นที่ท่าน้ำและร้องไห้ด้วยความคิดถึงแม่ นางขนิษฐามีความห่วงใยลูกสาว เมื่อตายไปก็มาเกิดเป็นปลาบู่ทอง และว่ายน้ำมาที่ท่าน้ำที่เอื้อยนั่งอยู่พร้อมกับร้องเรียกเอื้อย เอื้อยจำเสียงแม่ได้จึงมองหาเสียงนั้นก็เห็นปลาบู่ทอง จึงรู้ว่าแม่มาเกิดเป็นปลาบู่ทอง แม่จึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้เอื้อยฟัง  นางขนิษฐีสืบได้ว่านางขนิษฐามาเกิดเป็นปลาบู่ทอง จึงให้อ้ายไปจับปลาบู่ทองมา
ทำเป็นอาหาร เมื่อได้ปลามาก็ขอดเกล็ด เอื้อยรีบนำข้าวคลุกรำไปที่ท่าน้ำร้องเรียกหาแม่เป็นเวลานาน แต่ก็ไม่ปรากฏร่างของแม่ปลาบู่ทองเลย เอื้อยก็เอะใจแม่จะต้องได้รับอันตรายแน่นอน เอื้อยเดินกลับบ้านด้วยความเสียใจ เป็ดซึ่งเดินป้วนเปี้ยนใกล้ๆ กับที่เอื้อยนั่งทอดอาลัยอยู่ เป็ดได้พูดขึ้นว่าแม่ปลาบู่ทองของเอื้อยตายเสียแล้ว พร้อมทั้งคลายเกล็ดปลาบู่ทองให้เอื้อย เอื้อยจึงเอาเกล็ดปลาบู่ทองมาอธิษฐาน ขอให้แม่เกิดเป็นต้นมะเขือเปราะ และด้วยคำอฐิษฐานนั้นต้นมะเขือเปราะก็ได้เกิดขึ้น  เอื้อยดีใจคอยเฝ้ารดน้ำต้นมะเขือทุกวันจนงอกงามมีลูกเต็มต้น นางขนิษฐีแม่เลี้ยงได้รู้เรื่องต้นมะเขือที่เอ้อยปลูกไว้ จึงสั่งให้อ้ายไปตัดทำลายเสีย เอื้อยกลับมาเห็น
ต้นมะเขือถูกฟันทิ้ง เอื้อยเก็บเม็ดมะเขือที่เหลืออยู่ แอบไปอฐิษฐานปลูกให้เป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง ต้นโพิธิ์เงินโพธิ์ทองงอกงามเป็นประกายระยิบระยับ ท้าวพรหมทัตได้เสด็จออกประพาสป่า ได้พบต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองก็ทรงพอพระทัย ได้รับสั่งให้ทหารถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองเพื่อที่จะนำไปปลูกในพระราชวัง แต่ไม่สามารถถอนขึ้นได้ และทรงทราบว่าเป็นของเอื้อย จึงรับสั่งให้เอื้อยจัดการนำเอาไปปลูกในพระราชวังได้สำเร็จ และเอื้อยก็ได้เป็นพระมเหสีของท้าวพรหมทัต นางขนิษฐีได้ออกอุบายให้อ้ายเข้าวังไปบอกเอื้อยให้รีบกลับมาเยี่ยมพ่อที่บ้าน พ่อป่วยหนัก เอื้อยหลงกลจึงกลับบ้านเมื่อเดินเข้าบ้านก็เหยียบกระดานที่แม่เลี้ยงทำไว้ ตกลงไปในกระทะร้อนที่กำลังเดือดอยู่ ขาดใจตายในทันที      หลังจากเอื้อยตายแล้วนางขนิษฐีก็ให้อ้ายแต่งตัวเข้าไปในวังเป็นมเหสีแทนเอื้อย วิญญาณของเอื้อยได้ไปเกิดเป็นนกแขกเต้าและบินกลับมาที่วังได้พบกับท้าวพรหมทัต นกแขกเต้าได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ท้าวพรหมทัตฟังทั้งหมด เมื่อท้าวพรหมทัตทราบดังนั้นจึงได้พระราชทานกรงทองแขวนไว้อยู่หน้าเฉลียงห้องบรรทม    วันหนึ่งท้าวพรหมทัตได้เสด็จออกนอกพระราชวัง เพื่อทรงคล้องช้าง อ้ายมีจิตริษยาอยู่แล้ว เมื่อเห็นได้โอกาสเช่นนั้น จึงได้จับนกแขกเต้าออกมาถอนขนจนหมด
ทั้งตัวแล้วส่งให้แม่ครัวนำไปแกงคั่ว ยังไม่ทันที่แม่ครัวจะทำอะไร พอแม่ครัวเผลอ  นกแขกเต้าก็หนีกระเสือกกระสนเข้าไปในรูหนู และอาศัยอยู่จนกระทั่งขนขึ้นจนหมดตัวเหมือนเดิม นกแขกเต้าอำลาหนูแล้วบินไปอาศัยอยู่กับพระฤาษี พระฤาษีล่วงรู้อดีตของนกแขกเต้าว่าเป็นมาอย่างไร จึงได้ชุบนกแขกเต้าให้กลับกลายร่างเป็นเอื้อยเหมือนเดิม  พร้อมทั้งชุบร่างกุมารน้อยเพิ่มขึ้นมาอีกคนเพื่อเป็นลูกของเอื้อย ชื่อ ลบกุมาร  ลบกุมารอยากไปพบเสด็จพ่อท้าวพรหมทัตจึงอ้อนวอนแม่เอื้อย    แม่เอื้อยจึงอนุญาตให้ไปและมอบพวงมาลัยปริศนาให้ลบกุมารคล้องคอไปด้วย เมื่อลบกุมารได้พบท้าวพรหมทัต และได้ทรงเห็นพวงมาลัยที่คล้องคอลบกุมาร ก็แจ้งในพระทัยว่าเอื้อยยังมีชีวิตอยู่ จึงจัดขบวนเสด็จไปรับเอื้อยเข้าพระราชวัง และเอื้อยทูลขอให้รับนางขนิษฐีแม่เลี้ยงและพ่อเข้ามาอยู่ในพระราชวังด้วย ส่วนอ้ายนั้นกลัวถูกประหารชีวิตจึงชิงฆ่าตัวตายด้วยการกินยาพิษ ท่านท้าวพรหมทัตและนางเอื้อย ลบกุมารก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข


๕. ไกรทอง


๕.  ไกรทอง



เรื่องย่อไกรทอง


กาลครั้งหนึ่ง มีถ้ำทองเป็นที่อยู่ของจระเข้ ในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษที่ส่องแสงดุจเวลากลางวัน จระเข้ทุกตัวที่เข้ามาในถ้ำจะกลายเป็นมนุษย์ มีท้าวรำไพ เป็นจระเข้เฒ่าผู้ทรงศีล ไม่กินเนื้อมนุษย์และสัตว์ มีบุตรชื่อ ท้าวโคจร และท้าวโคจรมีบุตรชื่อ ชาละวัน วันหนึ่ง ท้าวโคจร เกิดทะเลาะวิวาทกับท้าวแสนตาและพญาพันวัง จระเข้ทั้งสามต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ สุดท้ายทั้งสามก็จบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบกัน
หลังจากนั้น พญาชาละวัน บุตรของท้าวโคจร ก็ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองถ้ำบาดาลโดยไม่ไม่ใครกล้าท้าทายอำนาจ และได้จระเข้สาวสองตัวเป็นเมียคือ วิมาลา กับ เลื่อมลายวรรณ ด้วยความลุ่มหลงในอำนาจ ชาละวันจึงมีนิสัยดุร้าย และต้องการกินเนื้อมนุษย์ และไม่รักษาศีลเหมือนท้าวรำไพผู้เป็นปู่แต่อย่างใด เพราะถือว่าตนเป็นผู้ปกครองถ้ำ มีอำนาจอยากจะทำอะไรก็ได้
ณ เมืองพิจิตร มีพี่น้องคู่หนึ่ง ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐี วันหนึ่งทั้ง 2 ลงไปเล่นน้ำในคลองที่ท่าน้ำหน้าบ้าน กับบ่าวไพร่ด้วยความสนุกสนานอีกหลายคน ในเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์นิสัยอันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำหน้าท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบนางแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง
เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมา ก็ตกตะลึกในความสวยของถ้ำ และได้เห็นพญาชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นชายรูปงาม เจ้าชาละวันก็เกี้ยวพาราสีแต่นางไม่สนใจ ชาละวันจึงใช้เวทมนตร์สะกดให้นางหลงรักและยอมเป็นภรรยา เมียของชาละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่พอใจและหึงหวงแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้
ท่านเศรษฐีเสียใจมาก จึงประกาศไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงานกับนางตะเภาแก้ว..และแล้วก็ได้ ไกรทอง หนุ่มรูปหล่อจากเมืองนนทบุรี ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ฤทธิ์อาคมแกร่ง ได้รับอาสามาปราบเจ้าชาละวัน ..
ก่อนพบเจอเหตุร้าย เจ้าชาละวันได้นอนฝันว่า มีไฟลุกไหม้และน้ำท่วมทะลักเข้าถ้ำ เกิดแผ่นดินไหวแปรปรวน ทันดใดนั้น! ปรากฏร่างเทวดาฝันคอชาละวันขาดกระเด็น จึงได้นำความฝันไปบอกกล่าวกับปู่ท้าวรำไพ เพราะเหตุการณ์ในความฝันเป็นลางร้าย เจ้าชาละวันต้องจำศีลในถ้ำ 7 วัน ถ้าออกไปนอกถ้ำจะพบภัยพิบัติถึงชีวิต วิมาลาจึงรับสั่งให้บริวารจระเข้คาบก้อนหินมาปิดปากถ้ำเอาไว้ เพื่อไม่ให้มนุษย์เข้ามาในถ้ำได้
..รุ่งเช้าไกรทองเริ่มตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมท่องคาถา ทำให้เจ้าชาละวันเกิดอาการร้อนลุ่ม วิมาลาได้แต่คอยปลอบใจให้ชาละวันอดทนเข้าไว้ แต่สุดท้ายชาละวันก็ต้องออกจากถ้ำ แปลงกายเป็นจระเข้ขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อต่อสู้กับไกรทอง การต่อสู้ของคนกับจระเข้จึงเริ่มขึ้นไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ชาละวันอย่างรวดเร็วและแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกอาคมได้ทิ่มแทงชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และมันได้รีบหนีกลับไปที่ถ้ำทองทันที
แต่ไกรทองก็ใช้เทียนระเบิดน้ำเปิดทางน้ำ ตามลงไปที่ถ้ำทันที วิมาลาและเลื่อมลายวรรณต้องการของร้องให้ปู่ท้าวรำไพช่วย แต่ท้าวรำไพก็ไม่สามารถช่วยได้ เมื่อมาถึงถ้ำไกรทองได้พบกับ วิมาลา ด้วยความเจ้าชู้จึงเกี้ยวพาราสีจนนางใจอ่อนยอมเป็นชู้ จนนางตกใจวิ่งหนีเข้าถ้ำ ไกรทองจึงตามนางไป ส่วนชาละวันที่นอนบาดเจ็บอยู่ก็รีบออกมาจากที่ซ่อนตัวและได้ต่อสู้กับไกรทองต่อในถ้ำ จนเจ้าชาละวันสู้ไม่ไหวในที่สุดก็พลาดเสียท่าถูกแทงจนสิ้นใจตายตรงนั้น(บางสำนวนก็บอกว่า เจ้าชาละวันถูกหอกอาคมของไกรทองแทงกลางหลัง แล้วร่างก็เปลี่ยนเป็นจระเข้ยักษ์นอนตายอยู่กลางถ้ำทอง) และไกรทองก็ได้พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากที่ลูกสาวยังไม่ตาย จึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภาแก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน
ใจของไกรทองกลับนึกถึงนางวิมาลา จึงไปหาอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำให้นางยังคงเป็นมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทอง จับได้ว่า สามีไปมาหาสู่ นางจระเข้จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับ ร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลาด้วยใจอาวรณ์ สุดท้ายไกรทองก็ปรับความเข้าใจได้กับทั้งสองฝ่าย ทั้งมนุษย์และจระเข้อยู่อย่างสันติ